หน้าเว็บ

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

แนะนำตัว


รหัสวิชา          GEN1102

ชื่อวิชา      เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

Section             -AF-

รหัสนักศึกษา   571702232

ชื่อนักศึกษา      นายอนุชา   เป็งบุญมา

ดอยแม่สลอง


ดอยแม่สลอง
      
 ประวัติสถานที่ท่องเที่ยวดอยแม่สลอง

       ดอยแม่สลอง เป็นที่ตั้งของ หมู่บ้านสันติคิรี ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง เดิมชื่อ บ้านแม่สลองนอก เป็นชุมชนผู้อพยพจากกองพล 93 จากสหภาพพม่าเข้ามาในเขตไทย จำนวนสองกองพันคือ กองพันที่ 3 เข้ามาอยู่ที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และกองพันที่ 5 อยู่ที่บ้านแม่สลองนอก ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เพื่อใช้เป็นกันชนกับชนกลุ่มน้อย ทำให้ดอยแม่สลองในยุคแรกเป็นดินแดนลี้ลับต้องห้ามมีปัญหายาเสพติดและกองกำลังติดอาวุธมาตลอด ทางการไทยได้พยายามแก้ปัญหา โอนกองกำลังเหล่านี้มาอยู่ในความดูแลของกองบัญชาการทหารสูงสุด กระทั่งปี พ.ศ. 2515 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทยอย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดยได้ริเริ่มโครงการปลูกชา และปลูกสนสามใบเพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนดอยแม่สลองได้ชื่อใหม่เป็น บ้านสันติคีรี มีการออกบัตรประชาชนให้เมื่อปี พ.ศ. 2521 จากนั้นดอยแม่สลองคืนสู่ความสงบนับแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้





สถานที่ท่องเที่ยวดอยแม่สลอง
อนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติภาคเหนือ ประเทศไทย ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ระลึกถึงประวัติศาสตร์ว่าที่ บ้านสันติคีรี เป็นหมู่บ้านของอดีตทหารจีนคณะชาติ (ทจช.ก๊กมินตั๋ง) กองพล 93 ได้ช่วยราชการไทยต่อสู้และปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ ดอยหลวง ดอยขาว และดอยผาหม่น จังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2514 - 2528 และพื้นที่เขาย่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2524 จากการสู้รบดังกล่าว อดีตทหารจีนคณะชาติได้เสียชีวิตและบาดเจ็บทุพพลภาพเป็นจำนวนมาก รัฐบาลไทยจึงกำหนดสถานะให้อดีตทหารจีนและคณะชาติเหล่านั้น เป็นผู้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศไทย และให้แปลงสัญชาติเป็นไทยได้ ซึ่งทำให้อดีตทหารจีนคณะชาติเหล่านี้ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ อนุสรณ์สถานอดีตทหารจีนคณะชาติ ถูกออกแบบก่อสร้างและตกแต่งอย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมจีน ข้างในเป็นที่รวบรวมข้อมูล ประวัติความเป็นมาของชุมชนแม่สลอง ประวัติของคณะทหารจีนคณะชาติ ความเหนื่อยยาก การตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย และมีห้องสมุดที่เก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง มีการจัดแสดงภาพถ่ายประวัติศาสตร์ความเป็นมา รูปภาพ และสิ่งสำคัญต่าง ๆ บนดอยแม่สลองที่ได้เกิดขึ้นในอดีต โดยนักท่องเที่ยวที่เข้าชมได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. เสียค่าบำรุงสถานที่คนไทย 20 บาท คนต่างชาติ 50 บาท
  • พระธาตุศรีมหาโพธิ์มงคลบุญชุ่ม
พระธาตุศรีมหาโพธิ์มงคลบุญชุ่มเมืองแม่สลอง ซึ่งเป็นวัดที่ชาวราษฎรแม่สลองทุกชนเผ่า ร่วมกับ ครูบาบุญชุ่ม สร้างถวายเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์ครบ 60 ปี และพระชนมายุครบ 80 พรรษา โดยภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เคารพของราษฎรในพื้นที่
  • สุสานนายพลต้วน ซี เหวิน
สุสานนายพลต้วน ซี เหวิน อดีตผู้นำทหารจีนฮ่อแห่งกองพันที่ 5 กองพล 93 เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมเยียน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยเชื้อสายจีนนิยมขึ้นไปเคารพศพนายพลต้วน โดยตัวสุสานสร้างด้วยหินอ่อนทั้งหมด แท่นหินอ่อนบรรจุร่างนายพลต้วน ซี เหวิน อยู่ภายในศาลาเก๋งจีนขนาดใหญ่ สีขาว พื้นปูหินอ่อน ด้านหลังแท่นบรรจุศพ มีภาพถ่ายเก่าแก่เกี่ยวกับประวัติและผลงาน โดยที่ด้านหน้าเป็นลาดเนิน มีตัวอักษร "ต้วน" ภาษาจีน สีทองบนพื้นสีฟ้า สุสานนายพลต้วน ตั้งอยู่บนเนินเหนือหมู่บ้าน ระดับความสูงประมาณ 1,300 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2523 บริเวณที่ตั้งสุสานยังเป็นจุดชมทิวทัศน์ของดอยแม่สลองได้อย่างกว้างไกล สามารถมองเห็นบ้านสันติคีรีในหุบต่ำลงไปเบื้องล่าง เป็นจุดชมทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ดีจุดหนึ่ง
  • พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี
พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี ตั้งอยู่บนยอดดอยสูงสุดของแม่สลอง ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 4 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดที่ระดับความสูง 1,500 เมตร ห่างจากหมู่บ้านสันติคีรี 4 กิโลเมตร มีถนนลาดยางตัดขึ้นไปยังพระบรมธาตุฯ สร้างแล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ. 2539 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐานสี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 เมตร ฐานกว้างด้านละประมาณ 15 เมตร ประดับกระเบื้องสีเทา มีซุ้มจระนำด้านละสามซุ้ม เรือนธาตุประดับพระพุทธรูปยืนสี่ทิศ องค์ระฆังประดับแผ่นทอง แกะสลักลวดลาย ใกล้กับองค์เจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนาประยุกต์ที่ตั้งของพระบรมธาตุฯ เป็นจุดสูงสุดของเทือกดอยแม่สลอง จึงชมทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะในยามเย็น ขณะเดียวกันองค์พระธาตุยังเด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกล เป็นสัญลักษณ์อีกอย่างของดอยแม่สลอง

ภูชี้ฟ้า

วนอุทยานภูชี้ฟ้า
   



 วนอุทยานภูชี้ฟ้าอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่อิงฝั่งขวาและป่าแม่งาว ท้องที่บ้านร่มฟ้าทอง หมู่ที่ 9 และบ้านร่มฟ้าไทย หมู่ที่ 10 ตำบลปอ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย สถานที่แห่งนี้ครั้งหนึ่งเคยเป็นสมรภูมิรบที่เกิดจากความขัดแย้งทางความคิดและนโยบายการบริหารการปกครองระหว่างกลุ่มคนที่จัดตั้งตนเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยและเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องเข้ามาปราบปรามหลังจากมีเหตุการณ์นองเลือด แต่หลังจากเรื่องราวต่างๆได้คลี่คลายลง ความสงบสุขได้กลับคืนสู่ผืนป่าอีกครั้ง ความสวยงามของสถานที่แห่งนี้จึงได้ถูกค้นพบและบอกเล่ากล่าวขานกันเรื่อยมา
    วนอุทยานแห่งนี้อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1200-1628 เมตร มีหน้าผาสูงที่มีแนวยื่นเข้าไปในประเทศลาว และสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น จุดนี้เองที่เป็นจุดชมวิวที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดแห่งหนึ่ง อากาศบนยอดเขาแห่งนี้จะค่อนข้างเย็นแต่มีฤดูกาลเป็นลักษณะแบบมรสุมเมืองร้อน แบ่งเป็น 3 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึง พฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง ตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ 
    วนอุทยานแห่งนี้นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาในช่วงฤดูหนาวเพื่อที่จะได้สัมผัสอากาศที่หนาวเย็น และได้ชมความงามของดอกชงโคป่าสีขาวที่ออกดอกบานสะพรั่ง นอกจากนี้การเดินทางมาในช่วงนี้ยังจะได้สัมผัสทะเลหมอกที่เหมือนดั่งประโยคที่ว่า “สายหมอกโอบกอดขุนเขา” สามารถกางเต็นต์พักผ่อนได้
การเดินทาง
ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้ 
1.จากอำเภอเมืองเชียงรายไปอำเภอเทิง ผ่านสามแยกโรงเรียนภูซางวิทยาคม บ้านสบบงและสามแยกบ้านม่วงชุมแล้วเดินทางต่อไป ก็จะถึงภูชี้ฟ้า
2.ไปตามทางหลวงจังหวัดสาย 1093 ผ่านน้ำตกภูซาง ด่านบ้านฮวก 
เส้นทางสายนี้เป็นทางลาดยาง 104 กิโลเมตรและทางดินลูกรัง 40 กิโลเมตร ผ่านจุดท่องเที่ยวสำคัญ 3 แห่งได้แก่ น้ำตกภูซาง (อุทยานแห่งชาติภูซาง) ด่านบ้านฮวก หมู่บ้านชายแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และศูนย์ส่งเสริมเกษตรที่สูงดอยผาหม่น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: วนอุทยานภูชี้ฟ้า (หัวหน้าฯ 08 1883 4510) หรือ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อ.เทิง ที่ว่าการ อ.เทิง โทร.053-795345

วัดร่องขุ่น


   วัดร่องขุ่น 





วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินของจังหวัดเชียงราย เพื่อมุ่งสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองและประกาศความยิ่งใหญ่ต่อคนทั้งโลกเพื่อถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติในนาม "White Temple" ระยะเวลาในการสร้างนั้นไม่มีกำหนดจนกว่าจะแล้วเสร็จ ซึ่งได้วางแผนทุกอย่างไว้หมดแล้วทั้งลูกศิษย์ที่สานต่อและทุนทรัพย์ ประชาชนคนไทยต้องหาโอกาสสักครั้งเพื่อมาชมวัดร่องขุ่น งานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ให้ได้
     ผมเป็นจิตรกรอาชีพ ชอบวาดรูปตั้งแต่จำความได้ ผมตั้งมั่นที่จะเป็นศิลปินเขียนรูปเพียงอย่างเดียว จึงขยันฝึกฝนตัวเองจนสามารถเรียนจบวิชาศิลปะจากสถาบันศิลปะที่มีชื่อเสียง ที่สุดของประเทศ โรงเรียนเพาะช่าง และมหาวิทยาลัยศิลปากร ผมผ่านการได้รับรางวัลที่ 1 เหรียญทองจากการประกวดผลงานศิลปะระดับชาติ เมื่อปี 2520 หลังจากนั้นไม่ส่งผลงานเข้าประกวดอีกเลย เพราะคิดว่าได้รับรางวัลไม่ใช่จุดสูงสุดในชีวิตที่ผมได้ตั้งเป้าหมายไว้
ระหว่างปี 2523 ถึงปี 2539 ผมออกเดินทางไปแสดงผลงานเพื่อหาประสบการณ์และเผยแพร่งานพุทธศิลป์ในต่าง ประเทศทั้งในเอเชีย ยุโรป และ อเมริกา โดยเฉพาะในประเทศอังกฤษ ผมเดินทางไปอยู่ถึง 4 ปี เพื่อเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดไทย ณ กรุงลอนดอน ซึ่งเป็นวัดของรัฐบาลไทย ชื่อวัพพุทธปทีป เริ่มปี 2527 ถึงปี 2531 เพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชา แด่พระพุทธเจ้าและประเทศชาติของผม โดยไม่คิดค่าจ้าง เพราะผมปรารถนาที่จะเป็นผู้นำงานพุทธศิลป์ร่วมสมัยของชาติผมให้ชาวโลกได้ รู้จักได้สัมผัสสุนทรียภาพทางอารมณ์และปรัชญาที่แตกต่าง
ผมเรียนธรรมะของพระพุทธเจ้ามากว่า 20 ปี ผมเข้าใจสัจธรรมการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ผมฝึกฝนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อตัดกิเลสได้มากพอควร ผมนำหลักพุทธธรรมเป็นผู้นำชีวิตให้เดินทางสายกลางทั้งภายนอกและภายใน จนประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งทางโลกและทางธรรม
ทางโลกนั้น ผมมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและรู้จักของคนทั้งประเทศ มีนักสะสมผลงานศิลปะทั้งในและต่างประเทศหาซื้อผลงานของผม จนไม่มีในตลาดศิลปะ ทำให้หลังปี 2540 ผลงานของผมมีราคาสูงมาก และหาซื้อไม่ได้ในขณะนี้ ปี 2538 ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้รับใช้ถวายงานแด่พระมหากษัตริย์อันเป็นที่รับ ยิ่งของผมหลายชิ้น ส่วนในทางธรรมนั้น ผมมีจิตใจที่งดงามมากขึ้น มีความสุข จิตราบเรียบสงบไม่ฟุ้งซ่านดิ้นรนเหมือนอดีตก่อนผมรู้จักธรรมะของพระพุทธองค์ ธรรมะทำให้ผมมุ่งปรารถนาที่จะเป็นผู้ให้แก่มวลมนุษยชาติ และเป็นที่มาของการตั้งจิตมุ่งมั่นที่จะคืนชีวิตตนเองให้แก่ชาติ แก่พระศาสนา และก่ามนุษย์ทั้งโลก ผมตั้งความหวังที่จะมอบชีวิตในวัยที่มีค่าที่ดีพร้อมที่สุดของอาชีพจิตรกร ไม่ว่าจะเป็นสติปัญญา ฝีมือ จินตนาการให้แก่โลกไปจวบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต ผมเริ่มงานก่อสร้างตามตั้งใจไว้ถึง 3 ปี โดยการเริ่มสร้างวัดร่องขุ่น วัดบ้านเกิดของผม เมื่ออายุเพียง 42 ปี ด้วยเงินที่ผมเก็บสะสมไว้กว่า 20 ปี จากการจำหน่ายผลงานศิลปะของผม
ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผมให้ปรากฏเป็นงาน ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้ เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก ผมเริ่มสร้างอุโบสถก่อนเมื่อปี 2540 บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ ผ่านมาบัดนี้ ปี 2548 เข้าปีที่ 8 ที่ผมอุทิศตน ผมขยายวัดเป็น 12 ไร่ จากการซื้อที่ดินเพิ่มและคุณวันชัย วิชญาชาคร ร่วมบริจาค
ณ เวลานี้อุโบสถเสร็จไปประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ คาดว่าภายนอกจะเสร็จอีก 5-6 ปีข้างหน้า ส่วนภายในซึ่งเป็นงานตกแต่งด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังจะใช้เวลาอีก 8-10 ปี จึงจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ภายในบริเวณวัดจะประกอบไปด้วยอาคารที่มีลักษณะรูปทรงที่แตกต่างกันทั้งหมด 9 หลัง เพื่อสร้างให้เป็นเมืองสวรรค์อันยิ่งใหญ่อลังการ
ผมคงไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อตกแต่งลดลายเสร็จหมดทั้ง 9 หลัง เพราะศิลปะยืนยาวแต่ชีวิตสั้น เพียงผมคาดว่าโครงสร้างของสถาปัตยกรรมทั้งหมดคงจะเสร็จภายใน 3 ปี ข้างหน้า ปี 2551
หากเมื่อผมตาย คณะลูกศิษย์ที่ผมสอนไว้จะสานต่อจินตนาการของผมจนแล้วเสร็จทั้งหมด ผมได้เตรียมการบริหารจัดการหลังความตายไว้พร้อมแล้ว ท่านที่มาชมวัดแล้วอย่ากังลงใจกลัวว่าผมจะสร้างไม่สำเร็จ เพราะสาเหตุที่ต้องใช้เงินจำนวนมาก และยังจำกัดจำนวนของผู้บริจาคให้ไม่เกิน 10,000 บาท เงินไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับผม มาวันนี้ผมจ่ายไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท ผมมั่นใจในตนเอง มั่นใจต่อจิตอันเป็นผู้ให้ของผม ขอทุกท่านอย่าได้เป็นห่วง ผมไม่ปรารถนาขอเงินใคร ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล องค์กรเอกชน หรือเศรษฐีร่ำรวย เพราะผมไม่อยากอยู่ใต้อำนาจทางความคิดของใคร ไม่ต้องการให้ใครมีอำนาจเหนือจินตนาการของผม ผมต้องการอิสรภาพทางความคิดสร้างสรรค์ ผมเชื่อว่า

"เงินจำนวนมาก ย่อมมาพร้อมอำนาจของผู้บริจาค"

ผมสร้างงานพุทธศิลป์ด้วยความศรัทธาจริตไม่ได้มุ่งหวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ไม่ต้องการและไม่ชอบการทำบุญเอาหน้า วัดนี้ไม่เคยเรียไรเงินด้วยกฐินผ้าป่า วัดนี้ไม่รีบร้อนสร้างเพื่อฉลองในโอกาสใด ๆ ทั้งสิ้น ผมคิดเพียงอย่างเดียว ต้องดีที่สุดสวยที่สุด สร้างจนหมดภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรมของผม

วัดพระธาตุดอยตุง




 วัดพระธาตุดอยตุง 
  

 วัดพระธาตุดอยตุง  อำเภอแม่จัน เป็นสถานที่ประดิษฐานพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย หรือกระดูกไหปลาร้าซึ่งนำมาจากประเทศอินเดีย ดังมีตำนานกล่าวไว้ว่า เมื่อ 1,000 กว่าปีล่วงมาแล้ว ประมาณ พ.ศ. 1454 พระมหากัสสปะเถระพร้อมด้วยพระเข้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธ์ ร่วมกับข้าราชบริพารได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุสถิตไว้ ณ ดอยแห่งนี้ และได้ปักตุงหรือธงบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เป็นตุงตะขาบมีความยาวถึงพันวาปักไว้บนยอดดอยปล่อยชายตุงปลิวสะบัดถึงที่ใดให้หมายเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ดอยนี้จึงได้ชื่อว่าดอยตุงมาจนถึงปัจจุบันนี้ พระธาตุดอยตุงเป็นปฐมเจดีย์แห่งล้านนา ตุง คือศรีเมือง ขวัญเมือง และเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา สถิตคู่พระธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2470 ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ ตามศิลปะแบบล้านนาดั้งเดิมและได้สร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้

ประวัติความเป็นมาของวัดพระธาตุดอยตุง

   วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงมีระยะทางจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย มองเห็นได้ในระยะไกล เนื่องจากะรธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน่ำทะเลประมาณสองพันเมตร

   ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองนครโยนกพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักไว้บนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดมห้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกปีลักยู 500 ครอบครัว ดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงศ์มังราย พระมหาวชิรโพธฺเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมา พระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

   รูปแบบสถาปัตยกรรม พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบกสนก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สืบสอง คล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลงนับตั้งแต่พญามังรายได้สร้างเจดีน์อีกองค์ใกล้กัน อีกองค์หนี่งจึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์ ปัจจุบันพระธาตุเป็นสีกองขนาดเล็กสององค์สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ อยู่บนดอยสูงแวดล้อมด้วยป่ารกคลื้ม เรียกว่า สวนเทพารักษ์ เชื่อกัฟ